Tuesday, July 13, 2010

มวยไทยลอกแบบจากต่างประเทศจริงหรือ ?

หลังๆมานี้ตัวผมเองได้ยินคนหลายคนพูดถึงว่า มวยไทยไปเอาวิธีการต่อสู้มาจากวิชาอื่นๆ เช่นยูโด ยิวยูสู ซาเวต คิกบ็อกซิ่ง มวยสากล จึงขอนำเอาข้อเขียนของปรมาจารย์เขตร ที่เขียนไว้ในปริทัศน์มวยไทย ให้ผู้อ่านได้พิจารณาดูกัน

การทำให้คู่ต่อสู้ล้ม
   เหตุใหญ่ของการล้มคอการเสียศูนย์หรือการทรงตัว ในวิชามวยไทยอาจแยกวิธีทำให้ปฎิปักษ์หรือคู่ต่อสู้ล้มเป็น ๒ ลักษณะ คือ ใช้กำลังแต่น้อย (ออมกำลัง) และใช้กำลังมาก (เมื่อแข็งแรงมาก)
   ชาวกรีกและชาวอินเดียเป็นพวกที่นิยมการทำให้ล้มด้วยกำลัง เพราะโครงร่างของเขาใหญ่โตเป็นส่วนมาก แต่คนไทยรูปร่างเล็ก มีความว่องไวเป็นสมบัติ ส่วนมากจึงถือเอาวิธีใช้กำลังน้อยเป็นแบบทำให้ล้ม เนื่องด้วยเหตุนี้คนไทยจึงมิได้เอาอย่างชาวกรีกและชาวอินเดียในการทำให้ ปฎิปักษ์ล้มแน่นอน ปัญหาจึงเหลืออยู่ว่า คยไทยเอาอย่างการทำให้ปฎิปักษ์ล้มมาจากใคร ? คนไทยเอาอย่างการทำให้คู่ต่อสู้ล้มมาจากชาวญี่ปุ่นตามที่มีผู้หลงเถียงเสียง แข็งจริงหรือ ?

มวยไทยลอกแบบมาจากต่างประเทศจริง หรือ ?

   ผู้เขียนขอเสนอแง่คิดว่า ระบบการชกต่อยตามแบบมวยไทยได้ปรากฏแพร่หลายมาแล้วตามหัวเมืองต่างๆ นับเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปีเศษ
   นายขนมต้มซึ่งนับว่าเป็นวีรบุรุษของบรรดานักมวยไทยตลอดมาจนกระทั่งบัดนี้ ก็ไม่มีโอกาสได้ฝึกทำให้คู่ต่อสู้ล้มมาจากชาวต่างประเทศ
   นอกจากนั้นหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (ประมาณปี พ.ศ. ๒๑๗๑) ได้มีญี่ปุ่นประมาณไม่เกิน ๕๐๐-๖๐๐ คน เข้ามาค้าขายในประเทศไทย ขณะนั้น (พ.ศ. ๒๑๗๓) เกิดการเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน พระยากลาโหมราชเสนา ผู้สำเร็จราชการ ไม่มีความไว้ใจพวกญี่ปุ่น ออกอุบายว่าฝรั่งชาติฮอลันดาจะมาตีเมืองนครศรีธรรมราช แกล้งยกย่องออกญา (พระยา) เสนาภิมุข หัวหน้าญี่ปุ่น  ให้ไปครองเมืองนครศรีธรรมราชพร้อมด้วยญี่ปุ่นอาสาทั้ง ๕๐๐-๖๐๐ คน จึงอาจนับได้ว่าญี่ปุ่นหมดเมือง (กรุงศรีอยุธยา) หรืออาจเหลืออยู่ก็เฉพาะแต่พวกเข้ารีตไม่กี่คน ซึ่งจะกลับญี่ปุ่นก็ไม่ได้ พิเคราะห์ตามเหตุผลกันแล้ว มวยญี่ปุ่น หรือที่นิยมเรียกกันสมัยก่อนว่า "ยิวยิตสู" ไม่มีทางแพร่หลายในหมู่ชาวไทยในเวลาจำกัดเพียง ๓ ปี และครั้งกระโน้น พ่อปู่ทวดขนมต้มของพวกเราก็มีชื่อกระเดื่องมากกว่า ๕๐ ปีก่อนมีญี่ปุ่นในประเทศไทย
   เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ ได้มีชาวโปรตุเกสเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อราวๆปี พ.ศ.๒๐๑๖ (ก่อนญี่ปุ่น) ชาววิลันดาเข้ามาราวปี พ.ศ. ๒๑๔๑ ชาวอังกฤษเข้ามาราวปี ๒๑๕๕ และชาวฝรั่งเศาเข้ามาราวปี พ.ศ. ๒๒๐๕ พวกชาวอีหรอบ (คำคนโบราณที่เรียกชาวยุโรป) ทั้ง ๔ ชาติที่กล่าวนี้ไม่ปรากฎว่ามีชื่อเสียงในเชิงมวย ซึ่งทำให้คู่ต่อสู้ล้ม นอกจากตุ๊ยท้องและเตะก้น เพราะสวมเกือกหนาและหนัก ข้อนี้ก็อาจยืนยันได้เต็มตัวว่ามวยไทยมิได้ลอกแบบจากชาวยุโรป

มวยไทยใช้ร่างกายทุกส่วนอยู่แล้ว

   การต่อสู้แบบมวยไทยเราใช้ร่างกายทุกส่วน ท่อนบนใช้หัว (ถูกห้ามไปแล้ว) เป็นเหตุให้นายโนกูจิผู้อ้างตนว่าเป็นอาจารย์ "คิกบ็อกซิ่ง ยืนยันว่าแบบมวยไทยสู้ไม่ได้ ทั้งๆที่การใช้หัว (ของมวยไทยมีมาตั้งแต่นายโนกูจิยังไม่เกิด ใช้นิ้ว (บัดนี้สวมนวมจึงใช้ไม่ได้) หมัด ศอก และ ไหล่ ท่องล่างใช้ ตะโพก เข่า แข้ง หลังเท้า ฝ่าเท้า ปลายเท้า ส้นเท้า และตาตุ่ม

อนึ่ง เป้าหมายก็เรียงรายตั้งแต่กบาล หรือ กระหม่อม ตลอดถึงตีนโปรดลองหลับตาดูทีหรือว่าการชกต่อยต่อสู้แบบมวยไทยจะต้องไปเอา อย่างจากชาติใดอีกเล่า ? อย่าว่าแต่คนต่อคนเลย แม้แต่วัวและความเขาแค่หู ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 300 ปอนด์ เท่าม้าลายก็ยังทนอยู่ไม่ได้ ต้องล้มหากรู้วิธีมวยไทย (ใครไม่เชื่อลองสืบถามบรรดาลูกศิษย์รุ่นเก่าๆ ของท่านอาจารย์หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิวงศ์ ปรมาจารย์มวยไทย ยิวยิตสูของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยดูก็ได้)

มวยไทยมีทำมีแก้

    อีกประการหนึ่ง การชกมวยแบบไทยนั้น เรามีทำและมีแก้ เช่น นักมวยฝ่ายหนึ่งเตะสูง (หมายถึงตอนตั้งแต่บั้นเอวขึ้นไปถึงหัว) อันเป็นจุดเจ็บและจุดตาย มวยไทยเราอาจป้องกันหรืออาจจับขาพุ่งออกไปให้ล้ม เพราะเสียหลักหรือเสียศูนย์ จับขากระชากให้ล้ม แบกขาให้ล้ม หักขาให้ล้ม บิดขาให้ล้ม เตะขาให้ล้ม และ เหน็บให้ล้ม ไม้มวยไทยดังกล่าวมานี้ มีนักมวยไทยสมัยปัจจุบันเคยนำออกใช้บ้างไหม ? เคยลองให้ฝึกให้รู้จักใช้เมื่อถึงคราวจำเป็นบ้างไหม ? ที่ได้ยินกันบ่อยๆมักจะเป็น "ยูโด" กันเสียแหละมาก คำสองคำก็ "ยูโด"

เมื่อได้กล่าวถึงตอนนี้ นักคลั่งมวย (แฟนมวย) คงจะได้เคยเห็นผู้ตัดสินหลายท่านตำหนิมวยที่ใช้ตีนปัดขาคู่ต่อสู้ให้ล้ม ว่าใช้วิชา "ยูโด" เมื่อมวยไทยมีวิธีทำให้คู่ต่อสู้ล้มตายตั้งหลายแบบ รวมทั้งการขัดขาด้วย เช่นนี้แล้วจะมีเหตุผลประการใดที่จะมิให้ขัดขา เพื่อให้นักมวยฝ่ายที่กำลังทำอันตรายทำไม่สำเร็จเล่า ? ผู้เขียนจึงใคร่ขอความกรุณาให้ท่านผู้รู้ (วิชามวยไทย) และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการมวยไทยได้โปรดพิจราณาด้วยความรอบคอบทั้งนี้ เพื่อเกีรยติภูมิของคนไทยทุกคนในเรื่องนี้ด้วย

สามารถหาอ่านข้อมูลอื่นๆได้จาก หนังสือปริทัศน์มวยไทย โดย ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัยครับ

ข้อมูลมวยไชยาที่ www.muaychaiya.com

หรืออีกที่ก็ที่ blog แห่งนี้ ^_^ ตามแต่เวลาที่ผมจะพอมีพิมพ์ให้ทุกท่านได้อ่านกันนะขอรับ สวัสดีครับ

Monday, July 12, 2010

มวยไชยา ในรายการ ที่นี่หมอชิต

ไปสาธิตมวยไทยไชยา ในรายการที่นี่หมอชิตครับ ได้รับผลตอบรับดีทีเดียวครับ

มวยไชยา รายการที่นี่หมอชิต ช่วงที่ 1



มวยไชยา รายการที่นี่หมอชิต ช่วงที่ 2



มวยไชยา รายการที่นี่หมอชิต ช่วงที่ 3



ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จากเวปไซต์ มวยไชยา

Thursday, July 8, 2010

รายการ Wake Club - กอล์ฟ ไมค์ ฝึกมวยไชยา

ช่วง Hot Shot นะครับผม เป็นรายการทีวีที่ผมได้ออกแล้วเก็บวีดีโอไว้ เป็นอันแรก แต่ก็คนอื่นอัพโหลดละนะ ^_^ ลองดูลีลาท่าทางกันเลย

แสดงมวยไชยาที่ประเทศจีน

ได้เดินทางไปแสดงมวยไทยไชยาและดาบไทยที่ประเทศจีนมาครับ เมืองปักกิ่ง ไปกัน 3 คน พี่ยิ่ง พี่ป็อปและก็พรรค สนุกมากมาย

Wednesday, July 7, 2010

มวยไทย Vs มวยไชยา อะไรดีกว่ากัน

มีคนเคยถามผมว่า นักมวยไทยปัจจุบันกับนักมวยไชยาปัจจุบัน ใครเก่งกว่ากัน ทำไมนักมวยไชยาถึงไม่มีการสร้างชื่อบนเวทีมวยไทย ถ้าให้ตอบตามตรง คงต้องบอกว่า นักมวยไทยอาชีพปัจจุบันแกร่งกว่ามากนัก

สาเหตุจากวัตถุประสงค์ของการฝึกต่างกัน ในอดีตนักมวยไชยามีการฝึกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เนื่องจากเืพื่อป้องกันประเทศและเข้ารับราชการเ็ป็นทหาร สมัยนั้นการเป็นนักมวยเองก็ถือว่าสบาย มีการยกเว้นภาษี มีการมอบที่ดิน ทาสรับใช้ให้ เช่นกันเมื่อตั้งใจถือการเป็นนักมวยจริงจังย่อมไม่ว่างเว้นการฝึกฝน เพื่อเอาตัวรอดในสงคราม หรือ แสดงฝีมือในงานต่างๆ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านเปลี่ยนไป จากยุคคาดเชือกสู่ยุคสวมนวม การนำเอากฎกติกามวยสากลมาใช้กับกติกามวยไทย ก่อเกิดการตัดทอนวิชาการของมวยไทยลงไปมาก รวมถึงความสำคัญของวิชามวยเริ่มลดน้อยลง เพราะไม่มีใครอยากเอาเป็นอาชีพ ครูมวยในรุ่นต่อมาจึงไม่นิยมส่งลูกศิษย์ขึ้นเวทีชกมวยอีก ในยุคครูเขตรก็มีนักมวยที่มาฝึกในค่ายขึ้นแข่งขันบ้างเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสอบวิชามากกว่า การชกเอาจริงจัง ครูทองเองก็เคยขึ้นแข่งตามเวทีต่างจังหวัด รวมถึงขึ้นแข่งที่ราชดำเนิน ลูกศิษย์ครูทองในค่ายไชยารัตน์ก็มีการส่งขึ้นแข่งในเวทีมวยไทยเพื่อสอบวิชาเช่นกัน แต่ในยุคต่อมาคือยุคครูแปรง ครูแปรงไม่ได้จัดตั้งค่ายมวยเพื่อส่งแข่งขันแต่อย่างใด ครูแปรงเปิดสอนเพียงหวังรักษาศิลปะการต่อสู้ของชาิติให้สืบทอดต่อไปได้ ผู้มาฝึกนั้นก็เป็นเพียง นักเรียน นักศึกษา นักธุรกิจ เด็ก ผู้หญิง ไม่ใช่นักมวย นักสู้ การฝึกฝนนั้นก็เพียงครั้งละ 2 ชม. อาทิตย์ละ 1-2 วันตามเวลาว่างที่จะมาฝึก ไม่ได้มาซ้อมแบบต่อเนื่อง และไม่ได้มีการแข่งขันใดๆ นอกเหนือการลงคู่ในสำนัก รวมถึงจำนวนผู้มาเรียนตั้งแต่ปี 2546 ที่เริ่มสอนที่สวนลุมก็มีเพียงจำนวน พันกว่าคนเท่านั้น

ซึ่งการฝึกมวยไชยานั้นเป็นการค่อยๆพัฒนารูปร่างของมวยและการบริหารร่างกายไปพร้อม จากนั้นฝึกซ้อมการป้องกันให้เคยชินก่อนจะเริ่มฝึกการออกอาวุธ จากนั้นจึงค่อยเข้าสู่กระบวนการเคลื่อนที่เดินมวย จึงค่อยลงคู่กันเพื่อฝึกทักษะและจิตใจ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาเรียนต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน - 1 ปีจึงจะครบหลักสูตรเบื้องต้นก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการฝึกฝนลูกไม้และเคล็ดมวยในขั้นต้น และที่ฝึกจนสอบสายได้ในขั้นแรกเองก็มีเพียงไม่ถึงร้อยคน ซึ่งการสอบสายได้ในขั้นต้นถือว่าสามารถป้องกันตัวได้ในระดับแรก

นักมวยไทยอาชีพในปัจจุบันมีการฝึกแตกต่างกันออกไป มวยไทยอาชีพนั้นตื่นแต่เช้าออกวิ่งสร้างกำลัง กลับมาถึงค่ายก็โดดเชือก ซิทอัพ วิดพื้น จากนั้นก็ลงกระสอบ ล่อเป้า ปล้ำเข่า เช้าบ่าย การซ้อมวันนึง 6 ชม. อาทิตย์นึง 6 วัน ด้วยว่าฝึกฝนเป็นอาชีพเพื่อเข้าแข่งขันในเวทีมวยไทย ซึ่งนักมวยนั้นก็มีจำเป็นต้องมีระเบียบวินัยในการซ้อมอย่างดี ระยะเวลาในการสร้างความอดทนเชี่ยวชาญนั้นต่อเนื่องตลอด เพื่อเข้าสู่เวทีการแข่งขัน ตั้งแต่เด็กจนเป็นวัยรุ่น บางคนต่อยเป็น 100 ไฟท์ ประสปการณ์รวมทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิตใจนั้นก็ย่อมพัฒนาตามไปด้วย ทักษะการใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก รวมถึงการปล้ำตีเข่า นั้นย่อมทับถมทวีคูณมาเรื่อยๆ รวมทั้งจำนวนผู้ฝึกมวยไทยนั้นมากกว่ามวยไชยาหลายเท่าตัวนัก กะคำนวณคร่าวๆเฉพาะในเมืองไทยก็คง ไม่ต่ำกว่าแสนแน่นอน แค่จำนวนผู้ฝึกฝนก็แพ้ขาดแล้ว ไม่ต้องรวมถึงชม.การฝึกฝนที่แตกต่างกันอย่างมาก

ถ้านับว่าผู้ฝึกมวยไชยาปัจจุบัน ศักยภาพไม่เท่า นักมวยไทยอาชีพนั้นย่อมเป็นความจริง เพียงแต่หากพูดถึงในเรื่องวิชา ก็ไม่ควรถือว่ามวยไชยานั้นอ่อนด้อยกว่ามวยไทย ด้วยว่าตามความจริงแล้วมวยไชยาเองก็ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของมวยไทยเช่นกัน ถ้าในความคิดของตัวผมเองนั้นก็ขอยืมคำพูดของพี่ขลุ่ย ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทยยุคแรกๆที่นำเอามวยไทยไปเผยแพร่ที่สหรัฐอเมริกาว่ามวยไชยานั้น เป็นมวยไทยเต็มรูปแบบ

มวยไทยเต็มรูปแบบ หมายถึง มวยไทยที่เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ไม่ได้ถูกตัดทอนด้วยกติกาจากกีฬาเช่นปัจจุบัน เรียกว่าก็ใกล้เคียงกับการจำลองการต่อสู้ในศึกสงคราม เพราะสามารถทำได้เกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะ ต่อยเตะเข่าศอก จับทุ่มหักล็อค ตามซ้ำ จู่โจมจุดอ่อนสำคัญอย่างเช่น ลูกตา กระเดือก กระโปก รูทวาร รวมถึงการกัด เพียงแต่ไม่นิยมทำกันนักด้วยถือว่าเป็นสัตว์เดรัจฉานจนเกินไป และการแข่งขันในสมัยนั้นยังไม่จำกัดน้ำหนัก อายุ แต่อย่างใด ถ้าจะว่าไปก็ใกล้เคียงกับ UFC ในยุคแรก หรือ valetudo ที่บราซิลในปัจจุบัน

แต่ก็แตกต่างกันตรงการเอาชนะ แล้วก็การจำกัดเวลา เพราะใน ufc ถ้าถูกน็อคจนสลบก็ถือว่าแพ้ แต่ในกติกามวยไทยเต็มรูปแบบ แม้สลบหรือบาดเจ็บ หากสามารถแก้ไขให้ฟื้นหรือทำการรักษาแล้วยังแข่งต่อ ก็ถือว่าแข่งต่อได้ จะยอมแพ้ก็ต่อเมื่อยอมแพ้กันจริงๆเท่านั้น ดังเช่นเมื่อครั้งนายปลอง จำนงทอง เมื่อสู้กับ มวยโคราช โดนเตะขณะรำมวยโดยไม่ทันได้รู้ธรรมเนียมว่า เมื่อเริ่มสัญญาญชกก็ต่อสู้กันได้ทันที สลบไป แต่เมื่อแก้ไขจนฟื้นกันขึ้นมาท่านเจ้าเมืองก็ถามว่าจะสู้ต่อหรือไม่ นายปลอง ก็ขอสู้ต่อจนสามารถใช้ท่าเสือลากหางเข้าจับทุ่มแล้วทับตามด้วยศอกและเข่าเข้าที่ท้องและลูกกระเดือกแต่มวยโคราชหลบทันจึงโดนเส้นคอพลิกรักษาไม่ได้ยอมแพ้ไป จนได้เป็นหมื่นมวยมีชื่อ จะเห็นได้ว่ากติกามวยไทยเต็มรูปแบบนั้นมีความอันตรายกว่ามวยไทยกีฬาในปัจจุบันมากนัก

ฉะนั้นความเข้มข้นของตัววิชาการที่ยังไม่ได้ตัดทอนมาเป็นกีฬาอย่างมวยไทยในปัจจุบันนั้นย่อมมีครบเครื่องกว่า มวยไทยปัจจุบันที่อนุญาติเพียง หมัด เท้า เข่า ศอก ไม่อนุญาติให้โจมตีจุดอันตราย รวมถึงการทุ่ม การทับ จับหักล็อค หรือ การต่อสู้บนพื้น หรือแม้กระทั่งตามซ้ำก็ยังถือว่าผิดกติกา สมัยก่อนนั้นแม้การล้มลง กรรมการก็ไม่ได้มีหน้าที่คอยช่วยประคองแต่อย่างใด เพราะถ้าหากว่ารับฝ่ายนึงทัน แต่อีกฝ่ายนึงไม่ทัน ก็ถือว่าเป็นการลำเอียงไป นักมวยจำเป็นต้องฝึกการล้มและการป้องกันการซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งเอง

ผู้ฝึกหัดมวยไชยาในปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นที่การฝึกเพื่อสืบทอดอนุรักษ์วิชาการที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นและเพื่อป้องกันตัวในยามฉุกเฉินมากกว่าเพื่อขึ้นแข่งขัน มีบ้างที่สอนในหน่วยตำรวจ ทหาร อย่าง หน่วยอรินทราช หน่วยซีล หรือ ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อใช้สำหรับการจับกุม ซึ่งก็จะฝึกเป็นเฉพาะอย่างไป

หากอยากจะฝึกฝนเพื่อขึ้นแข่งขันนั้นในปัจจุบันคิดว่ามวยไชยาคงเหมาะกับเวทีการต่อสู้ที่ใช้กติกาแบบ mma มากกว่าจะแข่งขันในกติกาเวทีมวยไทยทั่วไปเพราะสามารถใช้วิชาได้เต็มที่โดยไม่ถือว่าเป็นลูกผิดกติกา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถือว่าได้เปรียบกว่ามวยไทยกีฬาในปัจจุบัน หากต่อสู้กันในกติกาดังที่ว่าหรือในสตรีทไฟท์ เพราะหากโดนกระทำให้ล้มลงอาจจะไม่สามารถป้องกันตัวได้ดีนัก ดังที่เคยเห็นในเวที mma ทั้งหลายและแม้แต่ที่โดนมวยจีนกีฬาอย่างซานต้าทุ่มจนแพ้ไป ผู้ฝึกมวยไชยาจากบ้านครูแปรงเองก็มีคนที่ไปขึ้นบนเวที mma เพื่อทดสอบตัวเองเช่นกัน เช่น พี่พงษ์(ลูกพระพาย) พี่โชติ(โชติ ยอดสมัย) พี่โอ๋(สมิงวายุ) ผม(EZ2DJ) เอริธ์(Hitman) พี่ปอ(คีรีเดช) และมีเหล่ารุ่นน้องอีกหลายคนที่จริงๆก็ยังไม่ควรรีบร้อนมาแข่งขันด้วยว่ายังไม่ผ่านการฝึกพอเพียง บางคนฝึกยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำไป กลัวว่าจะบาดเจ็บไปแต่ก็ตามประสาวัยรุ่น ห้ามก็คงไม่ฟังครูก็ยอมให้ขึ้นไปหาประสปการณ์ ซึ่งกลุ่มผมเองก็เป็นรุ่นแรกที่ขึ้นสังเวียนในกติกาแบบนี้ตั้งแต่ยกเลิกคาดเชือกเมื่อ 80 กว่าปีมาแล้ว ก็เพียงหวังว่าจะแสดงศักยภาพของคนฝึกมวยไชยาให้ได้ชมกันบ้าง แม้รู้ดีว่าไม่อาจเทียบเหล่านักสู้มวยไชยารุ่นเก่าได้

ในช่วงต้นของการเรียนมวยของผมๆก็มาฝึกแบบคนทั่วไป วันเสาร์หรืออาทิตย์ต่อสัปดาห์ เรียนไปได้สัก 2 ปีก็เริ่มทำงาน เริ่มสร้างฐานะ ก็ว่างเว้นไป นานๆเข้ามาหาครูที พอจะขึ้นแข่งก็ไม่ได้มีเวลามาซ้อมมากนัก มาวิ่งๆเอากำลังและเข้าบ้านครูทบทวนวิชาและการแก้ไขท่าต่างๆเพียง 1 สัปดาห์ก่อนการแข่ง แต่ก็ถือได้ว่ายังพอนำเอาวิชามวยไชยามาใช้งานได้จนเอาชนะคู่ต่อสู้จนเป็นแชมป์ได้เช่นกัน โดยคู่ต่อสู้ที่ได้ต่อสู้ด้วยนั้นมี มวยสากล มวยไทย และ มวยปล้ำ

ครูทองท่านก็ฝึกมวยไทยกีฬามาก่อนจะได้เจอมวยไชยาจากอาจารย์เขตรและยังเคยขึ้นแข่งมวยไทยชนะเสือร้าย แปดริ้ว ครูแปรงเองก็ฝึกหัดมวยไทยกีฬามาก่อนจะได้เจอครูทอง แม้กระทั่งตัวผมเองก็ผ่านการฝึกมวยไทยมาก่อนจะเรียนมวยไชยา ฉะนั้นอย่าได้คิดว่าผู้ฝึกเรียนมวยไชยาจะกล่าวถึงมวยไทยโดยไร้ความเข้าใจ แต่ครูทั้งหลายนั้นได้ผ่านการพิจราณาแล้วถึงเลือกฝึกเรียน โดยสาเหตุที่สำคัญคือมวยไชยานั้นมีการป้องกันตัวที่ดีกว่ามวยไทยกีฬา และที่สำคัญ ครูแปรงเองก็ไม่เคยดูถูกนักมวยไทย รวมถึงวิชามวยไทย เพียงแต่เสียดายที่ปัจจุบันวิชาการได้หายไป หากนักมวยอย่าง สามารถ สมรักษ์ได้ฝึกมวยไชยา คงไปได้ไกลมาก และหากมีนักมวยไทยที่มีวินัยฝึกซ้อมมวยไชยาอย่างตั้งใจเหมือนเช่นฝึกมวยไทยกีฬาอย่างปัจจุบัน ซ้อมเช้าบ่ายวันละ 6 ชม. ฝึกซ้อม 6 วันต่อสัปดาห์ ใน 1-2ปี ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างชื่อในสังเวียนมวยไทยได้เช่นกัน

สุดท้ายอยากจะกล่าวคำสำคัญที่ครูแปรงเคยพูดให้ฟังเมื่อครั้งที่ผมเคยไปถามว่า ครูแปรง ว่าศิลปะการต่อสู้ใดเก่งที่สุดครับ ครูยิ้มๆแล้วตอบว่า "ถ้าสูงสุดสำหรับครูคือศิลปะการต่อสู้ที่เอาชนะกิเลสตัวเองได้นั่นแหละสูงสุด" แต่ถ้าตอบตามความอยากรู้ของเธอ ก็คงต้องบอกว่า "ศิลปะการต่อสู้นั้นฝึกเพื่อพัฒนาและปกป้องตัวเอง ผู้ฝึกทั้งหลายต่างวิ่งเข้าสู่ยอดเขาเดียวกันแต่คนละทาง วิชาใดถ้าฝึกจนเข้าใจแล้วก็เก่งทั้งนั้น อย่าหลงแค่ชื่อวิชาจงมั่นฝึกตัวเองเถอะ"

บทสัมภาษณ์ EZ2DJ แชมป์นักสู้ 2009 รุ่น -57 กก.


EZ2DJ/ศูนย์ศึกษาสยามยุทธ์บ้านครู แปรง แชมป์ NAKSU MMA 2009 รุ่น -57 กก.

NAKSU: ปัจจุบันเรียน หรือว่าทำงาน ความรู้สึกที่ได้แชมป์ NAKSU MMA 2009? เป็นอย่างไรบ้าง
EZ2DJ: ทำ งานอยู่ครับ กิจการส่วนตัวของที่บ้านแล้วก็ อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง รู้สึกดีใจมากครับที่ได้ทำความฝันของตัวเองที่เคยตั้งเป้าหมายไว้จนเป็นที่ สำเร็จ เร็วกว่าที่ตั้งไว้ 2 ปี ต้องขอบคุณทางทีมงานที่จัดการแข่งขันนี้ขึ้นมาด้วยครับ

NAKSU: ตั้งแต่ไฟต์แรกจนถึงรอบชิงชนะเลิศมีความยาก-ง่าย แตกต่างอย่างไร?
EZ2DJ: ไฟต์ แรกก็ตื่นเต้นมากหน่อยครับ เพราะว่าไม่เคยขึ้นชกแบบมีกติกาอย่างนี้มาก่อน ตื่นสนามพอสมควร รวมถึงคาดการณ์คู่ต่อสู้อย่างคุณ Hizour Nice ผิดด้วยเห็นในประวัติเป็นมวยสากล ก็คิดว่าน่าจะแลกหมัดกันดูแต่กลับพุ่งเข้ามาจับเลยผิดคาดไป แต่ก็หาจังหวะหมุนมาล็อคคอได้ครับ

-ไฟต์ที่สอง ตอนแรกคิดว่าจะได้เจอกันกับทางอ๊อฟ บ้านช่างไทย ซึ่งเป็นมวยไชยาเหมือนกัน ก็คิดว่าน่าจะไม่ยากมากนักเพราะพอจะรู้สไตล์อยู่แต่ ทางนั้นถอนตัว ก็เป็นคุณต้นตระการที่ผ่านคุณ Iron Rat มาประลองกับผมแทน ซึ่งเป็นสไตล์มวยไทยและก็น่าจะเคยจับล็อคมาบ้าง ก็เลยสู้ด้วยยากขึ้น เพราะคุณต้นใช้วิธี Hit And Run เกือบแพ้เหมือนกันแต่ 20 วินาทีสุดท้ายก็ขึ้นล็อคคอได้สำเร็จ

-ไฟต์ที่สาม เจอกับคุณคิงคอง อันนี้ถือว่าเป็นไฟต์ที่มีข้อมูลคู่ต่อสู้มากที่สุด ก็เลยพอจะวางแผนรับมือได้ครับ เรียกว่าได้เตรียมตัวดีที่สุด จึงไม่หนักใจหนักก็ใช้แผนที่วางไว้ จังหวะสุดท้ายที่โดนเข้ามาจับแท็คก็ตอบโต้อัติโนมัติล็อคคอตามความเคยชิน จนสุดท้ายก็ชนะมาได้ครับ

NAKSU: เพื่อนฝูงและคนรอบข้างให้การสนับสนุนอย่างไรบ้าง?
EZ2DJ: เพื่อนๆมีหลายคนที่ไม่รู้ว่าผมเป็นนักมวยด้วย เพราะหุ่นเล็กผอมบางแถมปกติมักจะเห็นผมอยู่หน้าคอม เล่นเกมหรือทำงานมากกว่า พอบอกว่าไปลงแข่งเลยไม่ค่อยจะเชื่อเท่าไหร่ รอสมน้ำหน้าตอนแพ้กันอยู่นะครับ ^_^
ที่บ้านทั้งพ่อและแม่ก็ไม่มีใครอยาก ให้ไปแข่งเพราะอยากให้ทำกิจการที่บ้านมากกว่า กลัวบาดเจ็บ แต่ก็ขออนุญาติท่านมาแข่งเพราะว่าเป็นความฝันที่ครั้งนึงอยากจะทำ

NAKSU: ชีวิตในวัยเด็กเป็นอย่างไรบ้าง?
EZ2DJ: เด็กๆ โดนรังแกบ่อย แถมยังชอบโดนล้อว่าเป็นตุ๊ด 555 เนื่องจากไม่ค่อยได้อยู่ที่บ้านสักเท่าไหร่ เพราะพ่อแม่ทำงานหนักกำลังสร้างตัว ตอนคลอดมาแรกๆก็ไปอยู่สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็โดนพี่ที่โตกว่าแกล้ง พอขึ้นประถมก็โดนเพื่อนๆแถวบ้านแกล้ง จนป.3 ย้ายไปเรียนโรงเรียนประจำที่ชลบุรีก็โดนแกล้งอีก แต่ก็เริ่มตอบโต้บ้าง จนป.4ปิดเทอมพี่ชายไปฝึกมวยไทยอยู่ที่บ้านแม่ที่ยโสธร ก็เลยไปแอบซ้อมๆกับเค้าด้วย พอกลับมาโรงเรียนก็ไม่มีใครแกล้งอีก

NAKSU: จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจที่อยากเป็นนักสู้?
EZ2DJ: ก็คงเริ่มจากที่เห็นพี่ชายต่อยแพ้ในการชกมวยไทยครั้งที่ 2 ทำให้เรารู้สึกว่าอยากจะไปสู้ดูบ้าง ประกอบกับที่ว่ามักโดนรังแกตั้งแต่เด็กๆ พอได้ฝึกมวยก็ทำให้มั่นใจขึ้น ตอนช่วงมัธยมก็มีเรื่องวิวาทบ่อยระหว่างโรงเรียน แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นป้องกันตัวครับ ไม่ค่อยไปหาเรื่องใคร พอรู้จักเพื่อนคนนึงที่เค้ามีวีดีโอ Valetudo Thailand ได้ดูแล้วก็เลยอยากลงแข่งดูบ้าง พออเจอครูแปรง+มวยไชยาก็เลยเหมือนเห็นเส้นทางที่ไปได้ครับ

NAKSU: เคยฝึกและเล่นกีฬาอะไรบ้าง?
EZ2DJ: หลาย อย่างครับที่ฝึกอันดับแรกเลยคือ มวยไทย ตอนประถม 4 ต่อมาก็เรียน ไทเก็ก เทควันโด ไอคิโด แล้วก็เคยไปซ้อม นินจัตสึ ยิวยูสู Bjj ครับ พยายามทดลองหาว่าอะไรที่เหมาะกับตัวเอง จนสุดท้ายก็มาลงเอยที่ มวยไชยา ครับ

NAKSU: เคยมีประสบการณ์ในการต่อสู้ หรือเคยเข้าร่วมการแข่งขันอะไรมาบ้าง?
EZ2DJ: ส่วน ใหญ่ที่มีคือประสปการณ์บนชีวิตจริงพวกทะเลาะวิวาท หรือ โดนปล้นมากกว่าครับ ซึ่งมันก็แตกต่างกันพอขึ้นไปอยู่บนเวทีแล้วตื่นเต้นมากครับ แต่ก็ช่วยให้สงบจิตใจได้เพราะไม่กลัวความเจ็บเท่าไหร่ ^_^

NAKSU: ได้มาร่วมศึกNAKSUได้อย่างไร?
EZ2DJ: ก็ พี่สมิงวายุและคุณโช ได้ลงแข่งในศึก Kof และ Naksu 2008 รวมทั้งรู้จักกับคุณ จุ้น อยู่ครับก็เลยสมัครขอลงในปี 2009 เพราะอยากทดสอบว่าตัวเองทำได้แค่ไหน

NAKSU: กิจวัตรประจำวัน?
EZ2DJ: ทำงานอยู่บ้านครับ แต่ปัจจบันอิสระหน่อยเพราะว่าทำงานทางเวปไซต์ด้วย ก็เลยไม่ต้องยึดติดกับเวลามาก อยากทำก็ทำไม่อยากทำก็เที่ยว ^_^

NAKSU: กิจกรรมยามว่าง?
EZ2DJ: ที่ทำบ่อยๆ 2 อย่างคือ อ่านหนังสือ กับ ไปเต้นที่ผับ เน้นเต้นไม่เน้นดื่มนะครับ ^_^

NAKSU: แบ่งตารางฝึกซ้อมอย่างไรบ้าง?
EZ2DJ: ก็ ไม่ค่อยมีเวลาได้ซ้อมเท่าไหร่ครับ ส่วนใหญ่ก็ไปเตรียมตัว อาทิตย์สุดท้ายก่อนแข่ง ก็เข้าไปทบทวนวิชากับครูมากกว่าครับ แต่ก็มีซ้อมเตะกระสอบ+ล่อเป้า เพื่อให้มีแรงยืนได้ครบยกอยู่ครับ แต่รอบสุดท้ายนี่ไม่ทราบว่าเพิ่มเวลาเป็น 3 ยก 3 นาที เกือบไม่รอดครับ

NAKSU: ซ้อมที่ไหน? ครูผู้สอน?
EZ2DJ: ศูนย์ศึกษาสยามยุทธ์บ้านครูแปรง -ครูแปรง ณปภพ ประมวล ครับ

NAKSU: เตรียมตัวก่อนขึ้นชกอย่างไรบ้าง?
EZ2DJ:2 รอบแรกนั้น น้ำหนักเกินครับ เลยต้องลดน้ำหนักกันหน้างาน เหนื่อยน่าดู แต่รอบสุดท้ายนี่ทำน้ำหนักไปดีครับ เลยไม่มีปัญหา+มีแฟนมาให้กำลังใจด้วย เลยกำลังใจดีขึ้นเยอะ o^_^o

NAKSU: นักกีฬาที่ชื่นชอบ?
EZ2DJ: ถ้าคนไทยก็นักสู้ใกล้ตัวนี่ละ ครับ ครูแปรง พี่ชาญ พี่โอ๋ พี่ยิ่ง ส่วนคนต่างชาติก็ Anderson Silva กับ Fedor ครับ

NAKSU: ความใฝ่ฝัน?
EZ2DJ:- เคยเขียนความฝันไว้ในบันทึกตอนอายุ 20 ปี ว่าจะมีอิสรภาพทางการเงินก่อนอายุ 30 ตั้งเป้าไว้ว่ามีกระแสเงินสดสุทธิ 1 แสนต่อเดือนโดยไม่ต้องทำงาน
- เป้าหมายที่สำเร็จไปแล้วคือการเป็นแชมป์ศิลปะการต่อสู้อย่างใดอย่างนึง
- ดูแลคุณพ่อ คุณแม่ และก็สร้างครอบครัวของตัวเอง
- เผยแพร่มวยไชยา ผลักดันมวยไชยาให้เข้าสู่การแข่งขันแบบสากล เขียนแผนธุรกิจโปรเจค มวยไชยา ศาสตร์ไทยสู่ศิลป์โลก

NAKSU: ฝากข้อความ,คำแนะนำถึงผู้สนใจในศึก NAKSU MMA 2010
EZ2DJ: เวที นักสู้ เป็นเวทีที่เปิดกว้างให้โอกาสสำหรับหลายๆคนที่อยากจะลองแข่งขันในสไตล์การ ต่อสู้แบบนี้หรือจะมาแลกเปลี่ยนพบปะพูดคุยกับเหล่านักสู้ด้วยกัน อยากให้คนเข้ามาแข่งขันมาร่วมชมกันเยอะๆครับ กีฬาการต่อสู้ พัฒนาหลายอย่างครับ นอกจากแข็งแรงแล้วยังป้องกันตัวเองได้ด้วย เสียดายว่าปีนี้อาจจะไม่มีโอกาสได้ลงป้องกันแชมป์ในรอบ Tournament เพราะมีแผนไปต่างประเทศปีหน้า แต่ถ้ามีโอกาสจะขอลงไปแข่งขันใน Superfight ด้วยครับ นักสู้ที่มาแข่งในปี 2010 ก็ตั้งใจซ้อมไว้นะครับ ผมว่าปีนี้นักสู้ทักษะดีๆเพิ่มมากขึ้นเยอะแน่ ถ้าว่างๆใครแวะมาเที่ยวตรอกข้าวสาร เจอกันได้นะครับ ไปประจำเกือบทุกคืน ^_^

EZ2DJ - นักสู้มวยไชยาไฮไลท์

จากนักสู้ฟรีสไตล์ข้างถนนผันตัวเองมาขึ้นสังเวียนเพื่อ ความฝันที่ครั้งนึงอยากจะเป็นแชมป์ศิลปะการต่อสู้สักแขนงหนึ่ง จากการฝึกฝนมวยไชยากับครูแปรงและโอกาสจากเวทีนักสู้ วันนี้ความฝันนั้นเป็นจริงแล้ว

ประวัติมวยไทยไชยา

….มวยไทยไชยา จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นเริ่มต้นที่ พ่อท่านมา ไม่ มีใครทราบว่าท่านมีชื่อจริงว่าอย่างไร ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็น ครูมวยใหญ่ จากพระนคร บ้างก็ว่าท่านเป็น ขุนศึก แม่ทัพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองจึงเรียกเพียงว่า พ่อท่านมา ท่านได้เดินทางมาที่เมืองไชยา และได้ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ไว้ให้แก่ชาวเมือง และศิษย์ที่ทำให้ มวยเมืองไชยา เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุค ร.๕ คือ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)

…..ปรมาจารย์ เขตร ศรียาภัย เคยกล่าวไว้ว่า ท่าย่างสามขุม ของหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบฯ พ.ศ.๒๔๖๔ (ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ ปรมาจารย์ พระไชยโชคชกชนะ (อ้น) เจ้ากรมทนายเลือกครูมวยและครูกระบี่กระบองผู้กระเดื่องนาม ในรัชสมัย ร. ๕) และปรมาจารย์ ขุนยี่สานสรรพยากร (ครูแสงดาบ) ครูมวยและครูกระบี่กระบอง ลือชื่อ ในสมัย ร.๖ นั้นมีความกระชับรัดกุม ตรงตามแบบท่าย่างสามขุมของ ท่านมา (หลวงพ่อ) ครูมวยแห่งเมืองไชยา ท่านนับเป็นต้นสายของมวยไชยา มรดกอันล้ำค่าของคนไทย

…..สมัย ร.๕ ในงานพระเมรุ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ณ ท้องทุ่งพระเมรุป้อมเผด็จดัสกร กรุงเทพฯ ได้จัดให้มีการตีมวยหน้าพระที่นั่งครั้งใหญ่ เจ้าเมืองจากหัวเมือต่างๆได้จัดส่งนักมวยของตนลงแข่งขัน และได้มีนักมวยฝีมือดีอยู่ ๓ คน ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หมื่น” อันได้แก่

๑. หมื่นมวยมีชื่อ (ปล่อง จำนงทอง) มวยไชยา
…..ถนัดใช้ท่า เสือลากหาง เข้าทุ่มทับจับหักคู่ปรปักษ์

๒. หมื่นมือแม่นหมัด (กลิ้ง ไม่ทราบนามสกุล) มวยลพบุรี
…..ถนัดใช้หมัดตรง และหลบหลีก รุกรับ ว่องไว

๓. หมื่นชะงัดเชิงชก (แดง ไทยประเสริฐ) มวยโคราช
…..ถนัดใช้ท่า หมัดเหวี่ยงควาย ที่รุนแรง คว่ำปรปักษ์

จนมีคำกล่าวผูกเป็นกลอนว่า ” หมัดดีโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ” จะเห็นได้ว่าผู้ที่เป็นนักมวยในสมัยนั้น ได้รับการยกย่องมาก เพราะบ้านเมืองสนับสนุน และเมืองที่มีมวยฝีมือดีก็จะได้รับการยกย่องให้เป็น ” เมืองมวย ” มวยไชยา นั้นเป็นที่นิยมแพร่หลาย ในเขตภาคใต้ตั้งแต่ ชุมพร หลังสวน ลงมาโดยมีเมืองไชยาเป็นศูนย์กลาง และยังมีครูมวยอีกหลายท่านที่มีชื่อเสียงมากมาย

มวยไชยา ศาสตร์แห่งสยาม


ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติของไทยย่อมเป็นมวย ไทย แต่จะมีสักกี่คนรู้จักมวยไทยอย่างแท้จริงมากกว่าจะนึกถึงนักมวยรูปร่าง ล่ำสันแลกแข้งใส่กันอย่างดุเดือดตามค่ายมวยหรือสนามมวยชื่อดังอย่างลุมพินี และราชดำเนินมวยไทยดั้งเดิมนั้นใช้ไหวพริบปฏิภาณมากกว่าที่จะใช้ กำลังแลกกันให้เจ็บทั้งคู่ มวยไทยแขนงหนึ่งที่เรียกกันว่ามวยไทยไชยา แสดงออกถึงสิ่งนั้นอย่างขัดเจน
มวยไทย ไชยา หรือจะเรียกให้ครบว่า พาหุยุทธ์มวยไทยไชยานั้น ปัจจุบันออกจะหาชมได้ยาก แต่มีสถานที่หนึ่งที่ฝึกสอนวิชามวยให้กับประชาชนผู้สนใจทั่วไปให้ได้สืบทอด วิชามวยไทยโบราณ รักษาวัฒนธรรมไทยแท้ในรูปแบบที่คนไทยส่วนใหญ่นั้นจะเห็นแต่ในหนังสือ หรือ ภาพยนต์

อาจารย์ณปภพ ประมวญ หรือ ครูแปรงของเหล่าศิษย์มวยไทยทั้งหลายเป็นผู้สืบทอดวิชา สานต่อเจตนารมย์จากบูรพาจารย์ที่สืบสายวิชามวยที่ถูกลืมไปตั้งแต่มีกาที่มวย คาดเชือกถูกระงับการแข่งขันให้เปลี่ยนไปใช้กติกาอิงสากล ลูกไม้กลมวย ต่างๆก็สูญหายไปมาก

ครูแปรงเป็นศิษย์ ติดตามใกล้ชิด ครูทอง เชื้อไชยา ผู้สืบทอดวิชามวยไทยไชยานี้มาจาก ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย(ปรมาจารย์คนสุดท้ายของวงการมวยไทย)ซึ่งได้เรียนวิชาจากพระยาวจี สัตยรักษ์เจ้าเมืองไชยาผู้เป็นพ่อ รวมทั้งได้เรียนวิชามวยโบราณจากครูอีก 13 ท่านจนแตกฉาน

วิชามวยไทยไชยานี้ นอกจากมือเท้าเข่าศอกที่เห็นได้ทั่วไปในมวยไทยกระแสหลักแล้วยังมีวิชาที่ถูก ลืมอย่างการ “ทุ่ม ทับ จับ หัก” ซึ่งมีความร้ายกาจไม่แพ้วิชาการ ทุ่ม การล๊อคของศิลปะการต่อสู้อื่น หลักมวยอื่น ๆ ยังมีที่เป็นคำคล้องจองแต่มีความหมายลึกซึ้งทุกคำ อย่าง ” ล่อ หลอก หลบ หลีก หลอกล่อ ล้อเล่น ” หรือ “กอด รัด ฟัด เหวี่ยง ” ซึ่งเป็นวิชาการกอดปล้ำแบบหนึ่งซึ่งหาไม่ได้แล้วในมวยไทยสมัยปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง “้ ล้ม ลุก คลุก คลาน ” ซึ่งเป็นการฝึกม้วนตัว ล้มตัว

มิติ การต่อสู้ของมวยโบราณอย่างมวยไทยไชยานั้นจึงไม่จำกัดเฉพาะการยืนต่อสู้เท่า นั้น การต่อสู้เมื่อจำเป็นต้องล้มลงก็ทำได้ และด้วยพื้นฐานของมวยไทยโบราณที่ถูกสร้างให้ใช้ในการศึกสงคราม การต่อสู้กับศัตรูพร้อมกันหลายคนนั้นเป็นมิติหนึ่งที่ทำให้มวยไทยไชยา เป็นมวยที่ร้ายกาจ

การเรียนการสอนของมวย ไทยไชยานั้นจะเป็นระเบียบ ระบบแบบโบราณ นักเรียนจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชา เรียนการป้องกันตัว ” ป้อง ปัด ปิด เปิด ” จนสามารถป้องกันการโจมตีได้อย่างมั่นใจแล้ว ลูกไม้มวยไทยต่าง ๆ ก็จะค่อยได้เรียนรู้ แตกต่างจากมวยไทยกระแสหลักที่ฝึกฝนการโจมตี เตะ ต่อย ทำลาย โดยอาศัยความทนทานเข้ารับลูกเตะต่อยของคู่ต่อสู้ ดั่งที่ครูแห่งมวยไทยไชยานี้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ศิลปะการป้องกันตัวย่อมต้องป้องกันตัวได้จริง ไม่ใช้ศิลปะการแลกกันว่าใครจะทนกว่ากันก็จะเป็นผู้ชนะไป
ด้วยภูมิ ปัญหาของครูมวยโบราณที่สั่งสม แก้ไข ปรับปรุงจนวิชามวยไทยดั้งเดิมนั้นร้ายกาจ ด้วยกลเม็ด ลูกไม้ ไม้เด็ด หลากหลาย กลมวยสามารถแตกขยายไปได้เหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด ในทางกลับกันนั้นการสั่งสอนวิชาอันร้ายกาจนี้ก็ฝึกฝนให้นักเรียนเป็นคนอดทน มุ่งมั่นใจเย็น สุขุม จนในท้ายที่สุดแล้ววิชามวยแห่งการต่อสู้นี้เป็นอุปกรณ์พัฒนานักเรียนให้เป็น คนดีของสังคม ที่มีสติ ควบคุมกายให้ประพฤติตนดี มีครูสอนสั่ง

ครูแปรงได้วางแผนการสอนวิชาอาวุธที่คู่กับมวยไทยไชยาที่รู้จักกันในชื่อ วิชากระบี่กระบองซึ่งมีวิชา ดาบสองมือ มีดสั้น พลองยาว ไม้ศอก รวมถึงอาวุธไทยโบราณแบบอื่นๆที่ไม่น่าจะหาเรียนได้ที่ไหนง่ายๆ เพื่อให้ครบหลักสูตรวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวของไทยโดยแท้

มูลนิธิอนุรักษ์พหุยุทธ์มวยไทยไชยา อาวุธไทยพิชัยยุทธ์ โดย ครูแปรง ณปภพ ประมวญ

มวยไชยา ศูนย์ศึกษาสยามยุทธ์บ้านครูแปรง